วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สงสัยมั้ย เรือด่วนธงส้มจอดกี่ท่ากันแน่?


จำนวนการจอดเทียบท่าของเรือด่วนพิเศษธงส้ม


ท่านผู้โดยสารเรือด่วนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยาโปรดทราบ...ฮั่นแนะ เหมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ยังไงอย่างงั้นเลย หลังจากที่เราได้รู้ถึงประเภทของเรือด่วนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา, แผนที่เส้นทางเดินเรือ, ประเภทของตั๋วเรือด่วนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา และ การดูธงประจำโป๊ะเรือ ไปแล้ว วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าถึงว่าทำไมหากดูจากแผนที่แล้ว จำนวนของท่าจอดเทียบของเรือด่วนพิศษธงส้ม ตกลงแล้ว จริงๆ เป็นเท่าไหร่กันนั่น 20 หรือ 21 ท่าเรือ อันนี้มีที่มาที่ไป ซึ่งกรณีนี้หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจ เอ๋???

หากเรือประจำทางไม่แล่น เรือด่วนพิเศษธงส้ม จะจอดโป๊ะท่าวัดเขียนเพิ่ม
ท่าเรือวัดเขียนที่จอดเพิ่ม ของเรือด่วนธงส้ม

สืบเนื่องมาจากบทความ แผนที่ เส้นทางเดินเรือด่วนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ยังติดค้างผู้อ่านอยู่เรื่องนึง วันนี้จะมาขยายความให้ทราบจ้า จากที่เคยเขียนลงไปว่าเรือด่วนพิเศษธงส้ม จำนวนท่าที่จอดเทียบเรือ 20 ท่าเรือ และหากมาดูในแผนที่เส้นทางเรือด่วน แล้ว เราจะนับได้ 21 ท่าเรือ ทำไมเป็นอย่างงั้นล่ะ สงสัยผู้เขียนจะมั่วตัวเลขมาหรือป่าว? เอ๋...ใจเย็นๆจ้า ทั้งนี้มาสาเหตุมาจากการแล่นเรือของเรือประจำทางนั่นเองจ้า และท่าเรือที่เพิ่มขึ้นนี้ก็คือ ท่าวัดเขียนนั่นเอง หากวันไหนตรงกับวันหยุด หรือเวลาไหนที่ไม่มีเรือประจำทางแล่น(อันนี้หมายรวม ถึง เรือประจำทางหมดไปแล้ว หรือยังยังแล่นนำหน้าเรือด่วนพิเศษธงส้มอยู่

Chaophraya Express Boat ท่าวัดเขียน
ท่าเรือวัดเขียน

พูดง่ายๆก้อคือ เรือด่วนธงส้มตามหลังเรือประจำทางมา แล้วเรามาไม่ทันลง(เข้ามาข้างใน)เรือประจำทาง ต้องมานั่งเรือพิเศษธงส้มแทน นั่นเอง ) แบบนี้เราสามารถขึ้น(ออกจาก)เรือด่วนพิเศษธงส้มที่ท่าเรือวัดเขียนได้ หากเรือด่วนพิเศษธงส้มจอดที่วัดเขียนก็จะนับได้ 21 ท่าเรือ และหากไม่ได้จอดท่าวัดเขียนก็จะเหลือ 20 ท่าเรือนั่นเองจ้า
โป๊ะเรือท่าวัดเขียน
ขณะยืนรอเรือที่วัดเขียน

สรปได้ว่า ในวันหยุด หรือ เวลาอื่นๆ ที่เรือประจำทางไม่ได้แล่นแล้ว เรือด่วนพิเศษธงส้มก็จะจอดเทียบท่าเรือวัดเขียนด้วยนั่นเอง
         และอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่าเรือวัดเขียนแห่งนี้จะเป็นบ้านหรือที่พักอาศัยของคนขับเรือและพนักงานของเรือด่วนแห่งแ่ม่น้ำเจ้าพระยา ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่จะมีเรือประเภทต่างๆจะมาจอดอยู่บริเวณใกล้ๆกับโป๊ะเรือวัดเขียนแห่งนี้กันจำนวนหลายๆลำ ดังภาพข้างล่างจ้า

วัดเขียน ที่จอดพักของเรือด่วนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยาประเภทต่างๆ และบ้านพัก ที่อยู่อาศัยของคนขับเรือ หรือ พนักงานเรือด่วน
การจอดพักของเรือประเภทต่างๆ เช่น ธงส้มและเหลือง ที่ท่าเรือวัดเขียน


หมายเหตุ

หากใครสนใจไปเที่ยวและกราบไหว้พระที่วัดเขียนนะจ๊ะ
ท่องเที่ยวบริเวณวัดเขียน
รูปภาพบริเวณวัดเขียน
วัดเขียน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๐ ม.๒ ต.บางไผ่ อ.เมือง นนทบุรี พระอุโบสถเก่า พ.ศ.๒๓๒๕ พระประธานปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร สร้าเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๓ เดิมเป็นท่าเทียบเรือสำเภาพ่อค้าจีน จนมีพ่อค้าชาวจีนชื่อ นายเคี้ยง ได้รวบรวมเงินและแรงงานสร้างวัดใน พ.ศ. ๒๓๒๓ ชื่อ “วัดเคี้ยง” ต่อมาชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น “วัดเขียน” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ เจ้าอาวาส พระปลัดจุลภัค เขมวิโร(รักไทย เจริญชิพ) อุปสมบทเมื่อ ๑๖ ก.ค. ๒๕๓๑


ขอขอบคุณข้อมูลวัดเขียนจาก ธรรมจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น