ใครอยากรู้ การนั่งเรือต่อเรือ ทำยังไง? เร่เข้ามาเลยจ้า
วันนี้ Chaophraya Express Boat จะมาแนะนำท่านผู้อ่านทุกท่านที่เดินทางไปกับเรือด่วนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งประจำและไม่ประจำ ว่าการนั่งเรือต่อเรือนั้นเป็นอย่างไร
จากบทความ เรือด่วนแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา Chaophraya Express Boat ที่ผ่านมา เคยรับปากไว้ว่าจะมาเล่าเรื่องการนั่งเรือต่อเรือ(น๊านนานจนเกือบจะลืม) ที่บอกว่าการนั่งเรือต่อเรือนั้นหมายความว่า ถ้ากรณีที่เรามาไม่ทันเรือโดยสารประจำทางหรือเรือด่วนธงส้ม พูดง่ายว่าตกเรืองั้นเถอะน๊ะ(ไม่ใช่ตกน้ำนะจ๊ะ) เพิ่งไปก่อนหน้าเราแป๊บเดียว เห็นหลังไวๆ
อันนี้พอมีทางแก้ไขเช่น หากเรามาไม่ทันเรือประจำทาง แต่บังเอิญมีเรือด่วนพิเศษธงส้มมาพอดี(ไล่หลังมาติดๆ) เราก็สามารถนั่งเรือธงส้มได้ แต่อย่าลืมใช้สิทธิของเอไอเอสนะ เพราะเราจะได้จ่ายในราคา 12 บาท(จาก 15 บาท) อิอิ ประหยัดจ้า เก็บตั๋วไว้ให้ดีๆนะจ๊ะ เราก็นั่งเรือธงส้ม พอเรือธงส้มแล่นไปสักพักหนึ่ง ก็จะสามารถแซงเรือประจำทางได้ เพราะธงส้มจอดน้อยกว่า เราก็ขึ้นเรือ(ออกจากเรือ)ป้ายหน้า(ขึ้นท่าหน้า)ได้ พอเรือประจำทางแล่นมาถึงและจอดเทียบท่าเราก็สามารถนั่งเรือประจำทางต่อได้โดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม(อันนี้แหละสำคัญ) ไม่ต้องเสียตังค์สักกะบาท แค่เอาตั๋วอันเดิมยื่นให้กระเป๋าเรือดูเท่านั้นเองจ้า นี่แหละเค้าเรียกว่านั่งเรือต่อเรือจ้า
หลักการนี้สามารถนำไปใช้ต่อได้ กับเรือธงอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน
เหตุผลที่ทำแบบนี้ได้เนื่องจาก ท่าเรือบางท่าเรือ เรือแต่ละประเภทจอดไม่เหมือนกัน จะมีประโยชน์มากๆ หากเราต้องการไปยังท่าเรือเล็กๆ แต่โดยสารเรือด่วนธงส้มหรือธงเหลือง ซึ่งไม่จอดท่าเล็กนั่นเอง
อย่าลืมเอาหลักการอันนี้ไปใช้ในการโดยสารเรือนะจ๊ะ ไม่ต้องจ่ายตังค์ใหม่ สบายกระเป๋า เก็บเงินเอาไว้ซื้อข้าวและขนมดีกว่านะจ๊ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น